โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสู่ความเป็นเลิศ
The Development Personnel Efficiency to Excellently Project
1. หลักการและเหตุผล (Project Overview)
จากสภาพวิกฤติกาลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม การเมือง และสังคม ส่งผลให้เกิดการปรับปรุงระบบการศึกษาไทยในทุกด้าน เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และทัดเทียมกับประเทศที่พัฒนาแล้ว การเรียนรู้ประสบการณ์การดำเนินงานจากประเทศที่ประสบความสำเร็จในการปฎิรูปการศึกษา จนเป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ อันจะเป็นประโยชน์ในการนำมาเป็นแนวทางและประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับการศึกษาในประเทศไทยต่อไป
2. วัตถุประสงค์โครงการ (Objective)
2.1 เพื่อเปิดโลกทัศน์ทางการศึกษาให้กับผู้บริหาร ครูอาจารย์ และนักการศึกษา ให้กว้างไกลขึ้น
2.2 เพื่อเป็นการส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรของประเทศไทย ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของประเทศ
2.3 เพื่อนำประสบการณ์ตรงจากการศึกษาดูงาน มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่การศึกษาในประเทศไทย
3. สถานที่ศึกษาดูงาน (Places for visit)
โรงเรียนระดับประถมศึกษา, มัธยมศึกษา, มหาวิทยาลัยในต่างประเทศ
4. ระยะเวลาการเดินทาง (Duration)
(คณะผู้เดินทางสามารถกำหนดวันเดินทางได้ตามความสะดวก)
5. บุคลากร (Delegation)
5.1 ผู้บริหาร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
5.2 ศึกษานิเทศก์
5.3 ครู อาจารย์ นักการศึกษา และผู้สนใจทั่วไป
6. งบประมาณ (Budget)
ขึ้นอยู่กับแต่ละโครงการตามเอกสารที่แนบมาด้วยนี้
7. แผนการดูงาน (Programme Curriculum)
7.1 การบริหารจัดการภายในโรงเรียน (Self Governing Schools)
7.2 การบริหารงบประมาณโรงเรียน (Self-Budgeting Schools)
7.3 การปรับปรุงพัฒนาโรงเรียน (School Improvement Programs)
7.4 การประกันคุณภาพการศึกษา (Education Quality Assurance)
7.5 การปรับปรุงกระบวนการเรียนรู้ (Learning Process Improvement)
7.6 การสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง (Teaching English as a Second Language)
7.7 สารสนเทศเกี่ยวกับการเรียนการสอน และการจัดการ (Application of Information Technology in Teaching Learning & Management)
7.8 การสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Child Centre)
7.9 ด้านบริหารการศึกษา โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ (English for Integrated Studies-EIS)
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ (Expected Outcome of the visit)
ผู้บริหาร ครู อาจารย์ ตลอดจนนักการศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผน การบริหารจัดการ การประกันคุณภาพการศึกษา และมีแนวทางการนำความรู้ที่ได้มาพัฒนาการปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
9. การประเมินผล (Evaluation)
9.1 การสังเกต
9.2 แบบสอบถาม
9.3 แบบแนวคิดโครงการหลังการดูงาน
|